หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2554

พัฒนาการเมืองมหาสารคาม

ก่อนปีพุทธศักราช ๑,๑๐๐ ได้เริ่งปรากฏร่องรอยการอยู่อาศัยของคนในแถบนี้ เช่น ร่องรอยทางโบราณคดี ที่เขตทุ่งกุลา   คนทุ่งกุลาร้องไห้ในอดีต แตกต่างจากกลุ่มวัฒนธรรมอื่นๆ ในเรื่องการฝังศพที่มีการนำกระดูกคนตายใส่ลงไปในภาชนะดินเผาแล้วฝังอีกครั้งหนึ่งเรียกกันว่า การฝังศพครั้งที่ ๒ (Secondary Burial)
          นอกจากความพิเศษและความเป็นลักษณะเฉพาะในเรื่องประเพณีการฝังศพแล้ว ยังมีลักษณะของภาชนะดินเผาที่แตกต่างจากกลุ่มวัฒนธรรมอื่น คือ ภาชนะเนื้อดินสีนวลขาว และภาชนะดินเผาที่เรียกว่า แบบร้อยเอ็ด โดยการตกแต่งผิวด้านนอกด้วยลายเชือกทาบ จากนั้นทำให้เรียบ แล้วเขียนด้วยสีแดงทับ
          การประกอบพิธีกรรมการฝังศพในภาชนะดินเผา ( Burial Jar ) ลักษณะดังกล่าว นอกจากจะพบแพร่กระจายในวัฒนธรรมทุ่งกุลาร้องไห้แล้ว ยังปรากฏในชุมชนโบราณทั้งในเอเชียภาคพื้นแผ่นดินใหญ่ เช่น อินเดีย จีน ลาว เวียดนาม มาเลเซีย และภาคพื้นหมู่เกาะ อันได้แก่ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และแถบตะวันออกไกล เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี ปัจจุบันยังสรุปไม่ได้ว่าประเพณีการฝังศพในลักษณะนี้เริ่มขึ้นเมื่อใด หรือแม้แต่การแลกรับวัฒนธรรมประเพณีเริ่มต้นที่กลุ่มชนใดในภูมิภาคนี้
          นอกจากภาชนะดินเผาแล้ว วัฒนธรรมทุ่งกุลาร้องไห้ยังปรากฏประเพณีการฝังศพที่มีการนำกระดูกคนตายใส่ลงไปในภาชนะดินเผา และฝังอีกครั้งหนึ่ง เรียกรูปแบบนี้ว่า ประเพณีการฝังศพครั้งที่ ๒ แบบแผนการฝังศพจะปรากฏมากมายหลายรูปแบบ เช่น ภาชนะบรรจุกระดูกทรงไข่ ทรงกลม และทรงกระบอก       ซึ่งล้วนแล้วแต่จะมีฝาปิดเป็นทรงอ่าง ทรงชามขนาดใหญ่(คล้ายกระทะ) และฝาปิดเป็นแผ่นดินเผา ทรงกลม มีหูหรือด้ามจับ จะพบว่ามีการฝังรวมกันเป็นกลุ่ม ทั้งการวางภาชนะในแนวนอนและตั้งฉากกับพื้น สำหรับการฝังโดยวางภาชนะในแนวนอนนั้นจะพบการวางภาชนะเรียงต่อกันเป็นแถว(ส่วนปากภาชนะจะต่อกับส่วนก้นของภาชนะดินเผาอีกใบหนึ่ง) และแบบพิเศษที่นำภาชนะทรงกระบอกขนาดใหญ่ ๒ ใบ มีลักษณะส่วนปากประกบกันมองดูคล้ายกับ แคปซูล1
          ช่วงเวลาที่มีการแพร่กระจายของกลุ่มวัฒนธรรมทุ่งกุลาร้องไห้อย่างหนาแน่นนั้น น่าจะจัดอยู่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย มีอายุประมาณ ๒,๕๐๐ ปีเป็นต้นมา จนกระทั่งปรากฏการรับอิทธิพลวัฒนธรรมเขมร ซึ่งมีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕ ๑๘ ซึ่งคนในเขตจังหวัดมหาสารคามในอดีต ก็อยู่ในโซนทุ่งกุลา จึงน่าจะมีวัฒนธรรมร่วมกันกับกลุ่มคนในอดีต
                นอกจากนี้วัฒนธรรมการฝังศพครั้งที่ ๒ ยังพบได้ที่บ้านเชียงเหียน ตำบลเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งได้มีการขุดค้นพบซากไหที่บรรจุโครงกระดูก  ในบริเวณบ้านเชียงเหียน ซึ่งคาดว่า อายุราว ๒,๐๐๐ ปี
                จากการขุดพบซากไห แคปซูล ในท้องที่ที่เป็นรอยต่อเขตเมืองมหาสารคาม หรือในเขตเมืองมหาสารคาม ล้านแสดงให้เห็นว่าก่อนหน้าที่มีการตั้งเมือง โดยพระเจริญราชเดช (ท้าวกวด) พื้นที่เมืองมหาสารคามนี้ มีคนอาศัยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวก่อนแล้ว จนกระทั้งได้รับวัฒนธรรมทวารวดี จากภาคกลางของไทย ทำให้ชุมชนที่อยู่ในพื้นที่อีสาน รวมทั้งที่มหาสารคามด้วย เริ่มพัฒนาบ้านเมืองของตัวเอง โดยมีการทำคูน้ำคันดินล้อมรอบ และมีการนับถือพระพุทธศานา เช่น ร่องรอยคูน้ำคันดินที่บ้านเชียงเหียน เมืองกันทรวิชัย และเมืองจำปาศรี เป็นต้น
                หลังปี พ.ศ. ๑,๕๐๐ เป็นต้นมา วัฒนธรรมทวารวดีเริ่มเสื่อมลงไป เนื่องจากการขยายอิทธิพลของวัฒนธรรมขอมเขมร และได้แผ่อิทธิพลทางวัฒนธรรมเข้ามาผ่านความเชื่อ คือ มีการสร้างปราสาทหรือกู่ ที่เรียกว่า อโรคยาศาล หรือสถานที่ที่รักษาพยาบาล ตามความเชื่อของพุทธศาสนานิกายมหายาน ซึ่งมีความเชื่อว่า ต้องช่วยคนเพื่อบำเพ็ญเพียรเป็นพระโพธิสัตว์และตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอานาคต  รวมทั้งในช่วงนี้ยังมีการสร้างปราสาทหรือกู่ เพื่อถวายแก่เทพตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ฮินดูด้วย จากหลังถานที่พบในจังหวัดมหาสารคามเช่น กู่บ้านเขาว กู่แก้ว กูสันตรัตน์ ศาลานางขาว เป็นต้น
                ต่อมา เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๐๘ ได้มีสารตราจากทางราชสำนักกรุงเทพฯ มาถึงเมืองร้อยเอ็ด ให้สถาปนาบ้านกุดยางใหญ่ให้เป็นเมืองมหาสารคาม โดยมีท้าวกวดเป็นผู้นำไพร่พลมาตั้งเมืองมหาสารคาม แต่ก่อนหน้าที่จะตั้งเมืองมหาสารคามนั้น ดินแดนแถบนี้อยู่ในความดูแลของเมืองต่างๆ เช่น เมืองกาฬสินธุ์ เมืองร้อยเอ็ด เมืองสุวรรณภูมิ เป็นต้น ในช่วงนี้ บทบาทของราชสำนักกรุงเทพฯ ยังไม่มีมากนัก มีเพียงการเก็บส่วยเท่านั้น ซึ่งส่วยที่เจ้าเมืองมหาสารคามต้องส่ง คือ เร่ว หรือภาษาอีสานเรียกว่า หมากแหน่ง โดยจะคิดเป็น ๑ หาบ ต่อ ชายฉกรรจ์ ๑๒ คน (อ้างตามปี พ.ศ. ๒๓๙๓ งานเขียนของอาจารย์ธีรชัย บุญมาธรรม เรื่อง พัฒนาการของเมืองมหาสารคาม ช่วงเจ้าเมืองเป็นคนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๔๐๘ ๒๔๕๕ ) และทางราชสำนักกรุงเทพฯก็จะให้ความคุ้มครองเมืองที่ส่งส่วยไม่ให้ถูกรุกราน
               

ในช่วง พ.ศ. ๒๔๐๔ ๒๔๕๕ นี้ กลุ่มคนที่ปกครองเมืองมหาสารคามจะเป็นเจ้าเมืองที่มาจากคนท้องถิ่น แต่เนื่องจากเจ้าเมืองมักจะเก็บส่วยจากประชาชนมากเกินที่กรุงเทพฯกำหนด เพื่อสะสมทรัยพ์ของตัวเอง หลังจากปี พ.ศ. ๒๔๓๓ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงจัดตั้งการปกครองแบบหม่ ที่เรียกว่า การจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาล และเปลี่ยนการปกครองเมืองมหาสารคามและเมืองต่างๆ ที่ปกครองแบบล้านช้าง คือ เปลี่ยน เจ้าเมือง เป็น ผู้ว่าราชการจังหวัด , อุปฮาช เป็น ปลัดเมือง , ราชวงษ์ ยกกระบัตร เป็น, ราชบุตร เป็น ผู้ช่วยราชการจึงมีการส่งข้าหลวงเข้ามาปกครอง โดยข้าหลวงคนแรกที่เข้ามาปกครองเมืองมหาสารคาม คือ หม่อมเจ้านพมาศ นวรัตน์ ในปี พ.ศ. ๒๔๕๕ และหลังจากนั้นบทบาทของเจ้าเมืองท้องถิ่นก็ได้ลดลงไป
                                                               
1ธีรชัย บุญมาธรรม . พัฒนาการของเมืองมหาสารคาม ช่วงเจ้าเมืองเป็นคนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๔๐๔ ๒๔๕๕ .           มหาสารคาม ; อภิชาติการพิมพ์ , ๒๕๕๔ .
ศิลปากร, กรม. รายงานเบื้องต้นการสำรวจแหล่งโบราณคดีในทุ่งกุลาร้องไห้ (เล่ม ๑ ๒), พ.ศ.๒๕๔๔
ศิลปากร, กรม .นำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ พิมพ์ครั้งที่ ๑ กรุงเทพมหานคร : 
บริษัท อทรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), ๒๕๕๐.
สุจิตต์ วงษ์เทศ . มหาสารคามมาจากไหน . กรุงเทพ ; โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , ๒๕๕๓ .



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น