หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ลงข่วงผีฟ้าในมหาสารคาม


ความหมายของคำว่า"ข่วง"มีผู้กล่าวถึงความหมายไว้หลายท่านหลายสำนวนคือ
1. พจนานุกรมภาษาถิ่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ให้ความหมายไว้ เป็น 2 ความหมาย คือ"ข่วง" 1 น.ควง, บริเวณ สนาม ยกพื้น ่ปลูกบริเวณลานบ้าน เพื่อให้สาว ๆ นั่งปั่นไหม หรือ ฝ้ายในเวลากลางคืน ที่เรียกว่า ลงข่วง หรือ อยู่ข่วง"ข่วง" 2 น. เครื่องพักสัตว์ประเภทกระรอก กระแต หรือ หนู ก่วงก็เรียก"
2. อาจารย์ ดร.ปรีชา พิณทอง อธิบายไว้ในสารานุกรมภาษาอีสาน-ไทย-อังกฤษ ว่า "สถานที่สำหรับปั่นฝ้าย เรียกว่า ข่วง"
3. ศรายุธ ทองคำใส กล่าวสรุปในหน้า 3 ของเอกสารประกอบการสอน "ผญา" ว่า "ประเพณีลงข่วงเป็นลักษณะการทำงานของพวกสาว ๆ ชาวอีสาน คือในหน้าหนาว เมื่อสิ้นฤูดเก็บเกี่ยวแล้วจะชวนกันลงมา ปั่นฝ้ายที่ลานหน้าบ้านในเวลา กลางคืน มีการก่อกองไฟแก้หนาว และให้แสงสว่าง ช่วงนี้จะมีหนุ่ม ๆ แวะเวียนมา เกี้ยวเป็นกลุ่ม ๆ มีการเป่าแคนเดินนำหน้ามาเป็นกระบวน ฝ่ายชายจะเป็น ฝ่ายเริ่มพูดเกี้ยวก่อนฝ่ายหญิงจะตอบกลับไปด้วยความสนุกสนาน เป็นการทำความรู้จักมักคุ้น เมื่อพออกพอใจกันก็จะไปสู่ขอ ตามประเพณี..." ดังนั้น การลงข่วง จึงหมายถึง การรวมกลุ่มกันของคนหนุ่มสาวชาวท้องถิ่น อีสาน ในบริเวณลานบ้านที่มียกพื้นให้หญิงสาวนั่งทอเสื้อ ปั่นไหม ปั่นฝ้าย หรือทำงานหัตถกรรม ในเวลากลางคืนมีชายหนุ่มมาร่วมกิจกรรมลงข่วง เพื่อพูดคุยหยอกล้อตลอดจนเกี้ยวสาว ๆ ที่ตนชอบและพอใจการลงข่วงจึงมีความสำคัญต่อวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่นอีสานในการรวมกลุ่มพบปะสังสรรค์กันโดยใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ และถือปฏิบัติเป็นประเพณีสืบทอดกันมาแต่โบราณ
ผีฟ้า คือคำเรียก เทวดา ของชาวไทยในภาคเหนือ และภาคอีสาน เป็นการบูชาแบบพื้นบ้านที่มีการนับถือผีกัน คนที่เป็นร่างทรงของผีฟ้าจะสืบทอดกันจากรุ่นสู่รุ่นในลูกๆ ที่เป็นผู้หญิง เมื่อมีคนที่เจ็บไข้ได้ป่วย ชาวบ้านมักนำมาให้ผีฟ้าเสี่ยงทาย และช่วยรักษา เมื่อรักษาใครหายแล้วก็จะเป็นลูกหลานหรือบริวารของผีฟ้าที่ชาวอีสานเรียนว่า ลูกเผิ้งลูกเทียน ผีฟ้าจึงเป็นประเพณีอีกอย่างหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อในเรื่องของไสยศาสตร์ และการทรงเจ้าเข้าผีของสังคมดั้งเดิมของคนไทย
ผีฟ้าที่บ้านยาง ตำบลยางสีสุราช อำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม จัดขึ้นเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2555 ที่ผ่านมา ได้มีการจัดงานลงข่วงผีฟ้าขึ้น นำโดยคุณยายอินตา ผู้เป็นผีฟ้าที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ และเหล่าลูกเผิ้งลูกเทียนของคุณยายอินตา ซึ่งเคยรักษาโรคให้หายก็จะมายกครูและบูชาครูด้วย
การประกอบพิธีกรรมจะมีการเป่าแคนฟ้อนรำทั้งคืน เพื่อให้ผีฟ้ามาปัดเป่าโรคร้ายหรือสิ่งไม่ดีออกไปจากผู้ที่ฟ้อนรำ
เมื่อพิจารณาทางวิทยาศาสตร์ก็น่าจะสันนิฐานได้ว่าเป็นการรักษาทางจิตวิทยา โดยการใช้อุปทานหมู่เพื่อให้ผู้คนที่ร่วมพิธีกรรมได้ฟ้อนรำ เมื่อมีการฟ้อนรำเลือดลมในร่างการก็ไหลเวียนเช่นเดียวกับการออกกำลังกาย ร่างกายก็จะแข็งแรงสมบูรณ์ไม่มีโรค

วันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

พุทธมลฑลอีสานซ้ำซ้อน


“พุทธมลฑอีสาน ถิ่นฐานอารยธรรม ผ้าไหมล้ำเลอค่า ตักสิลานคร” เป็นคำขวัญของจังหวัดมหาสารคามที่รู้จักของคนทั่วไป โดยเฉพาะพุทธมลฑลที่เป็นแหล่งโบราณคดีที่มีอารยธรรมมาตั้งแต่สมัยทวารวดี  เพราะบริวณนี้เป็นเมืองจำปาศรี และที่สำคัญยิ่งคือการขุดพบพระบรมสารีริกธาตุบรรจุในผอบสำริดรูปหม้อน้ำตามแบบทวารวดี หรือที่เรียกว่า หม้อปูรณคตะ  ซึ่งสันนิษฐานว่ามีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 13 -15 รัฐบาลในสมัยของพลเอกเปรม ตินสูลานนท์ จึงอนุมัติให้ดำเนินการก่อสร้างพระธาตุนาดูนขึ้นในเอที่ 902 ไร่ นอกจากนั้นคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาเห็นว่า พระธาตุนาดูน นอกจากจะตั้งอยู่ใจกลางภาคอีสานแล้ว ในด้านประวัติศาสตร์ยังเป็นแหล่งศูนย์กลวงของพระพุทธศาสนา ศิลปวัฒนธรรม การเมือง การปกครอง จึงได้มีมติให้พระธาตุนาดูนเป็นพุทธมณฑลอีสานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 เป็นต้นมา
ในส่วนการตอบสนองนโยบายรัฐบาลของจังหวัดขอนแก่น ที่จะมีการสร้างพุทธมณฑลอีสานจังหวัดขอนแก่นขึ้น โดยได้ดำเนินการไปแล้วบางส่วน พุทธมณฑลดังกล่าวตั้งอยู่ที่ หนองอิเลิง ถนนเลี่ยงเมือง ตำบลศิลา อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจำนนวนทั้งสิ้น 108,500,000 บาท การดำเนินการก่อสร้างมี 4 กิจกรรม คือ งานขุดลอกถมดิน พื้นที่ 130 ไร่ , การก่อสร้างถนนทางเข้าโครงการ ความยาว 420 เมตร , งานก่อสร้างอาคารประดิษฐานองค์พระ  ขนาดพื้นที่ 2,200 ตารางเมตร , งานก่อสร้างองค์พระพุทธศากยมุนีศิริมงคลความสูงจากพระบาทถึงยอดเกตุ 18 เมตร
ถึงแม้เมืองขอนแก่นจะเป็นจังหวัดที่ใหญ่ สถานที่สร้างพุทธมณฑลกลับมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์น้อยกว่าจังหวัดมหาสารคาม แต่การที่จังหวัดมหาสารคามที่มีพระธาตุนาดูนและเป็นแหล่งอารยธรรมเดิมอยู่แล้วก็ควรจะสืบสานตามคำขวัญของจังหวัดและเป็นศูนย์กลางของภาคอีสาน ที่เรียกว่าพุทธมณฑลแห่งอีสาน ซึ่งอาจทำให้คนทั่วไปสับสนได้ว่าจริงๆแล้วพุทธมณฑลอีสานอยู่ที่ไหนแน่ แต่ข้าพเจ้าคิดว่าการสร้างพุทธมณฑลอีสานที่มหาสารคามจะมีความเหมาะสมมากกว่าจังหวัดขอนแก่น
การเลือกจังหวัด 10 แห่งของรัฐบาลในการจัดสร้างพุทธมณฑล สะท้อนให้เห็นถึงแนวคิดของรัฐบาลที่เลือกจังหวัดจัดสร้างพุทธมณฑล ว่าเป็นการเลือกจากระบบฐานเศรษฐกิจโดยยึดถึงจังหวัดใหญ่ มีการค้าขายมั่งคั่ง โดยไม่ได้มองถึงภูมิหลังของจังหวัดนั้นว่ามีความเป็นมาอย่างไร โดยมุ่นเน้นไปที่การท่องเที่ยวเป็นหลัก โดยไม่ได้มุ่งเน้นถึงประวัติความเป็นมา อาจเรียกว่าละเลยหรือไม่ให้ความสำคัญของประวัติศาสตร์