หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ความเชื่อการลอยกระทงของคนมหาสารคาม

เดิมเชื่อกันว่าประเพณีลอยกระทงเริ่มมีมาแต่สมัยสุโขทัย ในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง โดยมีนางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ เป็นผู้ประดิษฐ์กระทงขึ้นครั้งแรก โดยแต่เดิมเรียกว่าพิธีจองเปรียง ที่ลอยเทียนประทีป และนางนพมาศได้นำดอกโคทม ซึ่งเป็นดอกบัวที่บานเฉพาะวันเพ็ญเดือนสิบสองมาใช้ใส่เทียนประทีป แต่ปัจจุบันมีหลักฐานว่าไม่น่าจะเก่ากว่าสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยอ้างอิงหลักฐานจากภาพจิตรกรรมการสร้างกระทงแบบต่างๆ ในสมัยรัชกาลที่1 1โดยผู้ที่เสนอว่าประเพณีลอยกระทงน่าจะเกิดขึ้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ คือ อาจารย์สุจิต วงษ์เทศ โดยอาจารย์สุจิต เสนอว่า นางนพมาศ ไม่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ เพราะเป็นชื่อสมมุติ “ตัวเอก” ของ “เรื่องแต่ง” ยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ แต่ใช้ฉากสมมุติเป็นกรุงสุโขทัย
ลอยกระทงจึงไม่เคยมีในยุคสุโขทัย ดังสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงมีลายพระหัตถ์ถึงพระยาอนุมานราชธน เมื่อ พ.ศ. 2479 มีความตอนหนึ่งว่า หนังสือเรื่องนางนพมาศ ซึ่งฉันเข้าใจว่าพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ แต่ราชการไทยใช้ชื่อนางนพมาศโฆษณาความเป็นไทยลอยกระทงหลอกๆ เพื่อ “ขายการท่องเที่ยว
หนังสือนางนพมาศ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์” เป็น “ตำรา” หรือ คู่มือปฏิบัติราชการในหน้าที่นางสนมนางกำนัลนางใน ซึ่งผู้ที่จะรับราชการหน้าที่เหล่านี้ได้ ก็มีแต่ลูกสาวอำมาตย์ขุนนางข้าราชการและผู้มีทรัพย์ ดังกลอนตำนานพระราชนิพนธ์ไกรทอง ของ ร.2 ตอนหนึ่งบอกไว้ว่าพวกขุนนางถวาย “ลูกสาว” ถ้าไม่มีลูกสาวมีแต่ลูกชายก็ถวาย หลานสาวพวกเป็นหมันไม่มีลูกก็ถวาย “น้องเมีย ดังกลอนนี้
“เหล่าขุนนางต่างถวายบุตรี     พวกที่มีบุตรชายถวายหลาน
ปะที่เป็นหมันบุตรกันดาร       คิดอ่านไกล่เกลี่ยน้องเมียมา”
ประเพณีถวายลูกสาวอย่างนี้มีมาก เพราะหมายถึงอำนาจและความมั่งคั่งจะตามมา พ่อแม่ของนางนพมาศก็หวังอย่างเดียวกับคนอื่นๆ จึงมีพ่อค้านานาชาติพากันถวายด้วย ดังกลอนนี้
“ทั้งจีนแขกลาวพวนญวนทวาย        ต่างถวายลูกเต้าเอาหน้า
เขมรมอญชาวชุมพรไชยา                               ทุกภาษามาพึ่งพระบารมี”
เมื่อมีผู้ถวาย “ลูกสาว” จำนวนมาก ซึ่งล้วนเป็นสาวรุ่นยังไม่ประสาหน้าที่การงาน ดังนางนพมาศอายุราว 15-17 ปีเท่านั้น และมีที่มาหลากหลาย หรือร้อยพ่อพันแม่ ซึ่งมีภูมิหลังและกมลสันดานต่างๆกันดังนั้น ทางราชการจำเป็นต้องสร้าง “ตำรา” หรือ “คู่มือ” ให้บรรดาลูกสาวหลานสาวเหล่านั้นฝึกปรือตนเองเพื่อปรนนิบัติพัดวีมีจริตกิริยาอย่าง “ผู้ดี” มีลาภยศสรรเสริญ
สนมกำนัลในแต่ละยุคมีนับร้อย แต่จริงๆ แล้วอาจนับไม่ถ้วน จึงแบ่งได้หลายระดับ ตั้งแต่ระดับบนที่เรียกเจ้าจอมหม่อมห้าม มีฐานะเทียบเท่า “เมียน้อยหรือเมียเก็บ” จนระดับล่างที่เรียกกันทั่วไปสมัยหลังว่า “นางห้าม“, “นางบำเรอ” แต่ทุกนางล้วนทำเพื่อตัวเองและวงศ์ตระกูลของตนเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับส่วนรวม
ทุกวันนี้มีประกาศผ่านสื่อว่าบางโรงเรียนและศูนย์การค้าบางแห่ง เชิญชวนพ่อแม่ผู้ปกครองส่งลูกสาวหลานสาวเข้าประกวดนางงามนพมาศหนูน้อยนพมาศฯลฯ ถ้ายกย่องนางนพมาศอย่างนั้น ทุกสถาบันก็ควรอธิบายอย่างยกย่องนางอื่นๆ ให้เสมอภาคด้วย เช่น นางโลมนางกลางเมืองนางนวด (หมอนวด)ที่เป็นนาง (หญิง) ขายบริการอยู่ในซ่องอาบอบนวดทั่วประเทศ เพราะนางพวกนี้ทำเพื่อสังคม คือช่วยหารายได้เพิ่มจีดีพีทุกปี แล้วเพิ่มได้มากๆ ด้วย2 อาจารย์สุจิตเสนอ
สำหรับการลอยกระทงในภาคอีสานนั้นก็น่าจะเกิดขึ้นในสมัยที่รัฐไทยได้เข้ามาควบคุมหรือปกครองอย่างจริงจังในสมัยรัตนโกสินทร์เช่นกัน ซึ่งก่อนหน้านี้ภาคอีสานจะยึดขนบธรรมเนียมและประเพณีตามลาวเป็นหลัก เพราะการติดต่อกับลาวในสมัยก่อนนั้นง่ายกว่าการติดต่อกับศูนย์กลางกรุงเทพฯ เพราะการติดต่อกับกรุงเทพฯ ต้องใช้เวลามาก อันตรายจากโจร ไข้ป่า โดยเฉพาะในเขตดงพญาไฟ หรือที่ปัจจุบันเรียกว่าดงพญาเย็น  ป่าดงพญาเย็นนั้น ได้ถูกกล่าวขึ้นเป็นครั้งแรก ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว จากหลักฐานจากบทพระนิพนธ์ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ 
ดังนั้งผู้คนในภาคอีสานจึงมีการติดต่อกับลาวมากกว่ากรุงเทพฯ เพราะลาวแค่เพียงข้ามลำน้ำโขง จึงเกิดการรับวัฒนธรรมประเพณีของลาวมาสืบปฏิบัติ คือฮีตสิบสอง ซึ่งไม่มีประเพณีลอยกระทงอยู่เลย แต่ถึงแม้จะไม่มีประเพณีลอยกระทงก็ยังมีการไต้ประทีบในบุญออกพรรษาอยู่ ดังเช่นหนังสือประเพณีอีสาน ของ ส.ธรรมภักดี ได้กล่าวว่า “ ใต้ประทีป เนื่องในวันออกพรรษา พระสงฆ์จัดทำเรือไฟด้วยในวัด ตรงหน้าโบสถ์ใช้เสาไม้หรือตนกล้วย 4 ต้นพื้นปูด้วยกาบกล้วย มีหัวหางคลายเรือ ตกกลางคืนนำดอกไม้ธูปเทียนมาจัดบูชา ถือว่าเป็นพุทธบูชา โดยเชื่อว่าถ้าใครใต้ประทัปในวันออกพรรษาจะทำให้ได้อานิสงส์มีตาทิพย์ เช่นเดียวกับพระอนุรุทเถระ ผู้เป็นอรหันต์ที่มีตาทิพย์เนื่องจากอานิสงส์ที่เคยลอยประทีป3
ดังนั้นการที่จังหวัดมหาสารคามได้จัดชื่องานลอยกระทงว่า “ งานคืนสิบสองเพ็ญ เล่นโคมไฟ ไต้ประทีบ และงานมหกรรมอาหารท้องถิ่น”  จึงน่าจะมีการใช้คำไม่ถูกต้อง แต่การที่มีการลอยกระทงในจังหวัดมหาสารคามน่าจะมีมานาน และอีกประการหนึ่งเมืองมหาสารคามก็เป็นเมืองที่เกิดขึ้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ จึงได้รับอิทธิพลของส่วนกลางคือกรุงเทพฯ ในการลอยกระทง ดังเห็นได้จากภาพเขียนประเพณีอีสานในพิพิธภัณฑ์เมืองมหาสารคามในประเพณีเดืนสิบสองจะเป็นประเพณีลอยกระทง
การลอยกระทงของชาวมหาสารคามในปี 2554 ที่ผ่านมานั้น ต่างก็มีความเชื่อแตกต่างกันไป คือ เพื่อเสียเคราะห์สืบชะตา เพื่อบูชาพระแม่คงคง เพื่อบูชารอยพระพุทธบาทในแม่น้ำนัมมานที และเพื่อบูชาพระอุปคุตเถระ แต่สิ่งที่แสดงให้เห็นถึงการประกอบพิธีลอยกระทงแล้วคือการที่ทุกคนยิ้มแย้ม ซึ่งแสดงให้เห็นว่า เมื่อประกอบพิธีแล้วจิตใจผู้ที่ได้ลอยกระทงเป็นสุข
                                                               
1http://th.wikipedia.org/wiki/ลอยกระทง
2http://www.pchaoprayanews.com/2011/11/10/สุจิต วงษ์เทศ/นางนพมาศ
3บุญศรี เปรียญ . ประเพณีอีสาน . ขอนแก่น , ส.ธรรมภักดี .



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น