หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

พุทธมลฑลอีสานซ้ำซ้อน


“พุทธมลฑอีสาน ถิ่นฐานอารยธรรม ผ้าไหมล้ำเลอค่า ตักสิลานคร” เป็นคำขวัญของจังหวัดมหาสารคามที่รู้จักของคนทั่วไป โดยเฉพาะพุทธมลฑลที่เป็นแหล่งโบราณคดีที่มีอารยธรรมมาตั้งแต่สมัยทวารวดี  เพราะบริวณนี้เป็นเมืองจำปาศรี และที่สำคัญยิ่งคือการขุดพบพระบรมสารีริกธาตุบรรจุในผอบสำริดรูปหม้อน้ำตามแบบทวารวดี หรือที่เรียกว่า หม้อปูรณคตะ  ซึ่งสันนิษฐานว่ามีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 13 -15 รัฐบาลในสมัยของพลเอกเปรม ตินสูลานนท์ จึงอนุมัติให้ดำเนินการก่อสร้างพระธาตุนาดูนขึ้นในเอที่ 902 ไร่ นอกจากนั้นคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาเห็นว่า พระธาตุนาดูน นอกจากจะตั้งอยู่ใจกลางภาคอีสานแล้ว ในด้านประวัติศาสตร์ยังเป็นแหล่งศูนย์กลวงของพระพุทธศาสนา ศิลปวัฒนธรรม การเมือง การปกครอง จึงได้มีมติให้พระธาตุนาดูนเป็นพุทธมณฑลอีสานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 เป็นต้นมา
ในส่วนการตอบสนองนโยบายรัฐบาลของจังหวัดขอนแก่น ที่จะมีการสร้างพุทธมณฑลอีสานจังหวัดขอนแก่นขึ้น โดยได้ดำเนินการไปแล้วบางส่วน พุทธมณฑลดังกล่าวตั้งอยู่ที่ หนองอิเลิง ถนนเลี่ยงเมือง ตำบลศิลา อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจำนนวนทั้งสิ้น 108,500,000 บาท การดำเนินการก่อสร้างมี 4 กิจกรรม คือ งานขุดลอกถมดิน พื้นที่ 130 ไร่ , การก่อสร้างถนนทางเข้าโครงการ ความยาว 420 เมตร , งานก่อสร้างอาคารประดิษฐานองค์พระ  ขนาดพื้นที่ 2,200 ตารางเมตร , งานก่อสร้างองค์พระพุทธศากยมุนีศิริมงคลความสูงจากพระบาทถึงยอดเกตุ 18 เมตร
ถึงแม้เมืองขอนแก่นจะเป็นจังหวัดที่ใหญ่ สถานที่สร้างพุทธมณฑลกลับมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์น้อยกว่าจังหวัดมหาสารคาม แต่การที่จังหวัดมหาสารคามที่มีพระธาตุนาดูนและเป็นแหล่งอารยธรรมเดิมอยู่แล้วก็ควรจะสืบสานตามคำขวัญของจังหวัดและเป็นศูนย์กลางของภาคอีสาน ที่เรียกว่าพุทธมณฑลแห่งอีสาน ซึ่งอาจทำให้คนทั่วไปสับสนได้ว่าจริงๆแล้วพุทธมณฑลอีสานอยู่ที่ไหนแน่ แต่ข้าพเจ้าคิดว่าการสร้างพุทธมณฑลอีสานที่มหาสารคามจะมีความเหมาะสมมากกว่าจังหวัดขอนแก่น
การเลือกจังหวัด 10 แห่งของรัฐบาลในการจัดสร้างพุทธมณฑล สะท้อนให้เห็นถึงแนวคิดของรัฐบาลที่เลือกจังหวัดจัดสร้างพุทธมณฑล ว่าเป็นการเลือกจากระบบฐานเศรษฐกิจโดยยึดถึงจังหวัดใหญ่ มีการค้าขายมั่งคั่ง โดยไม่ได้มองถึงภูมิหลังของจังหวัดนั้นว่ามีความเป็นมาอย่างไร โดยมุ่นเน้นไปที่การท่องเที่ยวเป็นหลัก โดยไม่ได้มุ่งเน้นถึงประวัติความเป็นมา อาจเรียกว่าละเลยหรือไม่ให้ความสำคัญของประวัติศาสตร์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น